ภาวะต่อมลูกหมากโต (BPH - Benign Prostatic
Hyperplasia)
ภาวะต่อมลูกหมากโต พบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุอยู่ระหว่าง 40-60 ปี ก็จะพบภาวะต่อมลูกหมากโตได้สูงถึง 50%
และคนที่อายุ 80 ปี
พบว่าเป็นต่อมลูกหมากถึงเกือบ 90% ต่อมลูกหมากโตอาจจะไม่แสดงอาการ
แต่ก่อให้เกิดความรำคาญหรือหงุดหงิด จนเกิดความรุนแรงที่มีอาการแทรกซ้อนต่างๆ
ตามมาได้
สาเหตุการเกิดต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะสืบพันธ์ จะอยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะ
และจะหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นของผู้ชาย มีขนาดเท่าเม็ดเกาลัด
ทำหน้าที่เป็นตัวผลิตของเหลวหรือน้ำไปเลี้ยงอสุจิ ทำให้อสุจิแข็งแรง
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน
แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับอายุ และฮอร์โมนเพศชายที่ไม่สมดุลกับร่างกายของคน ๆ นั้น
เมื่ออายุมากขึ้น ภาวะต่อมลูกหมากโตเนื่องจากขนาดของต่อมลูกหมากที่ใหญ่ขึ้นไปอุดกั้นท่อทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะจึงทำให้มีการถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
เกิดการอักเสบ เช่น
> กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่
>
ทำให้ปัสสาวะไม่สุดเหมือนยังมีค้างอยู่
>
ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันกลางคืน
> ปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่ง ลำปัสสาวะไม่พุ่งคือ
อ่อนแรง
> อาการรุนแรงถึงขั้นปัสสาวะไม่ออก
แนวทางรักษาทางการแพทย์
จะแยกตามอาการ
สำหรับผู้ที่มีอาการน้อยอาจจะไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิต
อาจจะยังไม่ต้องรักษาแต่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น งดการดื่มชากาแฟ
พบว่าเครื่องดื่มชากาแฟจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ
ทำให้ปัสสาวะบ่อย และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพราะว่าจะทำให้ร่างกายสร้างน้ำปัสสาวะมากขึ้นจึงทำให้ปัสสาวะบ่อย
สำหรับผู้ที่มีอาการมาก จะเน้นรักษาให้อาการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วยดีขึ้นและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากต่อมลูกหมากโต
สำหรับการรักษาในปัจจุบัน ได้แก่
1. การให้ยา
·
ยากลุ่มอัลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha Adrenergic
blockers) เป็นยากลุ่มลดความดัน
ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์เร็วมาก ผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้่น
แต่หากหยุดยาอาการก็จะกลับมาอย่างรวดเร็ว ผลข้างเคียงของยาทำให้ผู้ป่วยหน้ามืด
เวียนศีรษะ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ
·
ยายับยั้งการสร้างฮอร์โมน (Dihydortestosterone) ยาจะไปลดการสร้างฮอร์โมน
ทำให้ฮอร์โมนคุณผู้ชายน้อยลง ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก
ผลข้างเคียง คือ ผู้ป่วยก็จะขาดฮอร์โมน วัยทองก็จะออกอาการ
ยากลุ่มนี้จะไปลดประสิทธิภาพและความต้องการทางเพศก็จะลดลง
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด
จะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง จะใช้กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน
ให้ทานยาแล้วไม่ได้ผลที่น่าพอใจ เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับไต
ตามมา
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นต่อมลูกหมากโต
- ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
จะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
- ก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำมาก
และปัสสาวะก่อนเข้านอน
- งดดื่มชา
กาแฟ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ทำให้ปัสสาวะออกมาเยอะ
- การศึกษาพบว่า
ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย หรือช่วยตัวเอง จะลดการโตของต่อมลูกหมากได้ หรือ การทำให้มีน้ำเชื้อออกมาบ้างจะทำให้ต่อมลูกหมากไม่บวม
- ฝึกขมิบอุ้งเชิงกรานบ่อยๆ
เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อทางเดินปัสสาวะได้ดีขึ้น
- การออกกำลังกายให้เน้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
การปัสสาวะจะดีขึ้น
- ไม่ควรใช้ยาบางชนิด
เช่น ยาแก้หวัด แก้ปวดท้องบางชนิด จะทำให้มีอาการเป็นมากขึ้น
9 อาหารที่แนะนำให้ทานเพื่อป้องกันการเป็นต่อมลูกหมากโต
1.
ผักผลไม้สีแดง
จะมีไลโคปีนสูง (Lycopene) ได้แก่ แตงโม แครอท มะเขือเทศ(ปรุงสุก)
ผ่านความร้อนลดการเป็นต่อมลูกหมากโตได้ 35 %
2.
เมล็ดฝักทอง
ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชายให้มีความสมดุล
3.
ทับทิม
อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารกลุ่มโพลีฟีนอล
ช่วยป้องกันการเป็นต่อมลูกหมากโตได้ดีมาก
4.
กลุ่มเห็ด
ที่สำคัญเห็ดหอม
5.
ชาเขียว
เนื่องจากสารสำคัญในใบชาเขียวกลุ่มโพลีฟีนอล ที่ชื่อว่า เคทิชิน (Catechins) ช่วยซ่อมแซมเซลล์
ลดการโตของต่อมลูกหมาก
6.
พืชตระกูลกะหล่ำ
ที่มีสารซัลโฟราเฟน (Sunforaphane) ได้แก่ บร็อคโคลี่ ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ช่วยป้องกันการเป็นต่อมลูกหมากโต
ถ้าโตอยู่จะไม่โตเพิ่มขึ้น
7.
อาหารตระกูลเบอรี่ต่างๆ เช่น สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่
แบล็กเบอร์รี่ หามาทานจะช่วยป้องกันการเป็นต่อมลูกหมากโตได้ดี
8.
อาหารกลุ่มโอเมก้า 3 - อาหารที่มีโอเมก้า 3 ลดการอักเสบของต่อมลูกหมากที่โตขึ้น
9.
ขมิ้นชัน พริกไทยดำ
ลดการอักเสบของต่อมลูกหมากโต
สิ่งที่ไม่ควรทานเมื่อเป็นต่อมลูกหมากโต คือ เนื้อสัตว์ นมวัว จะมีฮอรโมนเร่งสูง จะไปเร่งต่อมลูกหมากให้โตขึ้น และควรลดน้ำตาลและแป้ง
นอกจากนี้
ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาต่อมลูกหมากโตมาแล้ว จนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ผู้ป่วยก็ยังควรตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำและพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ
อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ. คุณจำเป็นต้องป้อนข้อมูลในช่องที่มีเครื่องหมาย *